แจกวัคซีนตัวใหม่! เช็กภูมิคุ้มกันโรคทางดิจิทัลให้ชาวโซเชียลไทยกับ Digital Vaccine

ปัจจุบันนี้ สังคมดิจิทัลนั้นมีอิทธิพลอย่างยิ่งกับมนุษย์ ในประเทศไทยเอง อัตราการเติบโตของโลกดิจิทัลก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ขณะนี้บุคคลทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงสังคมดังกล่าวเพื่อติดต่อสื่อสาร พูดคุย และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นผู้ส่งสารและรับสารได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง

 

ความรวดเร็วในการเข้าถึงและการเป็น ‘ใครก็ได้’ ในโลกดิจิทัล ทำให้สมาชิกบางส่วนขาดความรับผิดชอบต่อการเผยแพร่ข้อมูล ในบางครั้งได้มีการบิดเบือน สร้างข้อความเท็จ ตลอดจนมีการหลอกลวงให้ผู้รับสารหลงเชื่อ จนนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมมากมาย เพราะข้อมูลในสังคมดิจิทัลนั้นมีจำนวนมหาศาล ทำให้ไม่สามารถควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องได้ทั้งหมด ดังนั้น การสร้างความเข้าใจ และกระตุ้นให้เกิดวิจารณญาณในการรู้เท่าทันโลกดิจิทัลจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  มองเห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าว จึงสนับสนุนการจัดทำภาพยนตร์สั้นภายใต้โครงการ Digital Vaccine “เช็กภูมิคุ้มกันโรคทางดิจิทัล” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดทำและดำเนินงานโดย บริษัท สแพลช อินเตอร์แอ็คทีฟ จำกัด การจับมือกันในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลที่กำลังผสานรวมกับสังคมจริง ซึ่งวัคซีนดังกล่าวไม่ได้อยู่ในรูปแบบของหลอดยาที่ใช้ฉีด แต่อยู่ในรูปแบบ ‘สื่อ’ ที่ทุก ๆ คนสามารถเข้าถึงได้ โดยได้มีการแถลงข่าวไปเมื่อวันพุธที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา

 

ภายในงาน Digital Vaccine “เช็กภูมิคุ้มกันโรคทางดิจิทัล” มาพร้อมกิมมิคเก๋ ฉีกกฎงานแถลงข่าวด้วยการเล่าเรื่องราวผ่าน Live Stage ในคอนเซปต์ ‘โรงพยาบาล’ ให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสกับบรรยากาศอันแปลกใหม่ตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้ามา โดยเริ่มต้นจากการคัดกรองเพื่อความปลอดภัยจากเชื้อไวรัส COVID-19 จากนั้นผู้เข้าร่วมงานจะได้ไปที่ แผนก “เวชระเบียน” เพื่อลงทะเบียนพร้อมทำแบบทดสอบ สำหรับเช็กภูมิคุ้มกันโรคทางดิจิทัลเบื้องต้น

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มองเห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าว จึงสนับสนุนการจัดทำภาพยนตร์สั้นภายใต้โครงการ Digital Vaccine “เช็กภูมิคุ้มกันโรคทางดิจิทัล” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดทำและดำเนินงานโดยบริษัท สแพลช อินเตอร์แอ็คทีฟ การจับมือกันในครั้งนี้มีความมุ่งหวังที่จะสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลของคนไทย ให้ประชาชนชาวไทยมีความตระหนักรู้ คิดเท่าทัน และมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนเกิดความรับผิดชอบต่อสังคมในการเผยแพร่ข้อมูลและสื่อใด ๆ ในสังคมดิจิทัล ผ่านการจัดทำสื่อที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย โดยหวังให้เกิดผลสำเร็จอันดีในการสร้างความรู้ความเข้าใจ กระตุ้นให้เกิดการคิด วิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณ เพื่อโลกดิจิทัลที่สร้างสรรค์และปลอดภัยต่อไป”

 

ต่อมา ดร.อมรวิชช์  นาครทรรพ ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้กล่าวถึงสถิติการวิจัยด้านสังคมดิจิทัล จากนั้น “คุณบ๊อบบี้-นิมิตร ลักษมีพงศ์” นักแสดงในภาพยนตร์สั้นเรื่องDigital Vaccine : เช็กภูมิคุ้มกันโรคทางดิจิทัลซึ่งเป็นหนึ่งในสื่อที่ให้ความรู้เรื่องโลกดิจิทัลก็ปรากฏตัวเซอร์ไพรส์ผู้ร่วมงาน ด้วยการแสดง Live Stage ก่อนนำเข้าสู่การเปิดภาพยนตร์สั้นให้ทุกคนรับชมร่วมกัน

สำหรับสื่อภาพยนตร์สั้นในโครงการ Digital Vaccine “เช็กภูมิคุ้มกันโรคทางดิจิทัล” นี้ มุ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดความตระหนักรู้ และใช้ชีวิตในสังคมดิจิทัลอย่างระมัดระวัง ไม่ส่งผลร้ายกับตนเองและผู้อื่น ในรูปแบบของสื่อที่ทุกคนเข้าถึงได้ เพื่อมุ่งสร้างสรรค์สังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในอนาคต