มั่นใจไมซ์โต! กรุงเทพฯ ครองแชมป์มาตรฐานโลก

      ว่าด้วยโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากยุค Globalization ไปสู่ยุค Millennium ที่มีผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคในธุรกิจไมซ์มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้าง Customer Journey หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า User’s Experiences มากขึ้น ประกอบกับ กลุ่มเป้าหมายใหม่ในอนาคตคือ คนรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรมการเดินทางอย่างไร้ขอบเขต ชอบอะไรง่ายๆไม่ยุ่งยากไม่มีพิธีรีตอง คำนึงถึงแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมไมซ์เช่นกัน โดยเฉพาะด้านการจัดประชุมในอนาคต โรงแรมอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกแรกๆ ที่ต้องแข่งขันกันด้านราคาและการบังคับขายรวมเป็น Package เหมือนแต่ก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มฝึกอบรมแบบ Corporate Training หรือ การอบรมเพิ่มศักยภาพทั่วไป เทรนของสถานที่จัดงานที่เน้นปัจจัยด้านสถานที่ที่ไปมาสะดวก ใกล้รถไฟฟ้า มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้วยอุปกรณ์ทันสมัย  มี Sustainability Practices ที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม อาทิ  Green Meeting ไม่เสิร์ฟน้ำจากขวดพลาสติก คือให้ไปกดน้ำดื่มเอง (MICE Insight Report: Sustainability) Line ของว่างและอาหารง่าย ๆ มาจาก Local Product เพื่อลด Carbon Footprint และนำเสนออาหารที่เป็น Local Product จะโดดเด่นมาก การจัดวางที่นั่งและโต๊ะประชุมทีสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบก็สำคัญ ปัจจุบันเราก็มี Meeting Space รูปแบบใหม่ๆหลายที่ เช่น WEWORK , TRUE DIGITAL PARK, AIS DESIGN CENTER, C-ASEAN , HUBBA เป็นต้น แนวโน้มสถานที่การประชุมก็จะเปลี่ยนไปมาก จัดได้ทั้ง INDOOR OUTDOOR UNIQUE VENUE OR UNCONVENTION VENUE ด้วยแนวโน้มของโลกที่ให้ความสนใจมากขึ้นในเรื่อง Environment Economy มากขึ้น ซึ่งในยุโรป อเมริกาถือเป็น lifestyle และการดำเนินชีวิตของทุกคนไปแล้ว แต่ในเอเชียยังช้าเรื่องนี้มากๆโดยเฉพาะในเมืองไทยเพิ่งมาจับกระแสกัน สสปน.หรือ TCEB สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการเป็นผู้นำในด้านนี้ของเอเชียที่กระตุ้นการจัดงานและการประชุมที่ต้องคำนึงถึงการบูรณาการ และผลกระทบระหว่างเศรษฐกิจ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม

การประชุมในอนาคตเพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภค ยุค Millenniums  และ GEN Z นอกจากการจัดการที่มีความยั่งยืนแล้ว รูปแบบอาหารก็จะเป็นอะไรที่ง่ายขึ้น เน้น healthy food line และอาหาร local การตกแต่งห้องก็ง่ายๆ ไม่ต้องมีผ้าจับจีบคลุม ดอกไม้ที่โพเดียมก็ไม่จำเป็นแล้ว ทุกคนจะพกกระบอกน้ำมาด้วย โรงแรมก็จะมีแท้งค์น้ำให้เติม ไม่มีการเสริฟขวดน้ำพลาสติกบนโต๊ะ การใช้กระดาษน้อยลง การเดินทางนิยมเส้นทางรถไฟฟ้า หรือ จัดในที่รถขนส่งสาธารณะไปมาสะดวก และถ้าใครจะบอกว่าธุรกิจการประชุมจะโดน Disrupt จากเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบก็ตาม อย่างไรเสียการมีปฎิสัมพันธ์ Face 2 Face ก็ยังต้องมี การสร้างความเชื่อมโยงในธุรกิจยังต้องใช้ People to People Business  แต่ความถี่อาจน้อยลง และ segment จะ niche ลงมากขึ้น

ธุรกิจไมซ์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย โดยกล่าวถึงการงานประชุม การจัดงานอีเวนท์ และการจัดงานแสดงสินค้า ภาพรวมแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น 8-10% ในปี 2563 โดยในปัจจุบัน มีนักธุรกิจและภาครัฐเข้าร่วมงานไมซ์ทั้งระดับนานาชาติและระดับในประเทศสูงถึง 37 ล้านคน สร้างรายได้สู่เศรษฐกิจไทยถึงปีละ 232,700 ล้านบาท กอปรกับปัจจุบันภาครัฐต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ภูมิภาค  ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและกิจกรรมไมซ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างแบรนด์สินค้า พัฒนาเศรษฐกิจจากการจัดงานให้มีการกระจายการจัดงานให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ในภูมิภาคทำให้เกิดความต้องการจัดงานต่างๆ จากภาคเอกชน องค์กร สมาคมและภาครัฐ

 

จากรายงานล่าสุดเมื่อปี 2561 ของสมาคมการประชุมนานาชาติระดับโลก (International Congress and Convention Association – ICCA) และ อุตสาหกรรมไมซ์ไทยขึ้นแท่นอันดับ 4 ของเอเชียด้านการประชุมนานาชาติ ด้วยจำนวน 193 งาน รองจาก ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี และเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน ยกระดับขึ้นจากปี 2560 ซึ่งไทยอยู่ในอันดบั 5 ของเอเชีย โดยมีจำนวนงาน ประชุมนานาชาติ 171 งานและคาดว่าจะยังโตต่อเนื่องทั้งปริมาณและรายได้ ยอดนักเดินทางไมซ์ทั้งในและต่างประเทศรวม กว่า 8 ล้านคน ทำรายได้เพิ่ม 6.27% มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท ทีเส็บ เจาะตลาด ASEAN+6, CLMV และยุโรป ดันรายได้ 2.2 แสนล้านบาท  ในปี 62

 

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ได้ริเริ่มโครงการ “TMVS” (Thailand MICE Venue Standard) เพื่อยกระดับมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ โดยได้สร้างตราสัญลักษณ์ “TMVS” เพื่อรับรองคุณภาพมาตรฐานซึ่งตราสัญลักษณ์นี้ จะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ที่ต้องการจัดงานทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ได้มั่นใจในมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย  อันประกอบด้วย ด้านกายภาพ ด้านเทคโนโลยี ด้านการให้บริการ และด้านความยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีการริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และได้สร้างจุดแข็งและจุดขาย ดึงงานในระดับนานาชาติสู่ประเทศไทย

 

โดย นางอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สสปน. กล่าวว่า “ว่าด้วยเรื่องมาตรฐาน สสปน. มีพัฒนามาตรฐานเพื่ออุตสาหกรรมไมซ์ 2 ตัวคือ มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทญ (Thailand MICE Venue Standard – TMVS)  กว่า 5 ปีของการพัฒนาและการส่งเสริมมาตรฐาน TMVS ต้องยอมรับว่ามาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมากในทุกธุรกิจ เราเข้าใจหัวใจของผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการสถานที่จัดงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ศูนย์ประชุม หรือสถานที่ Unconventional Venue ว่าต้องการอะไรในโลกที่มีแรงกดดันและความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจสูงมาก และอีกหนึ่งมาตรฐานคือ มาตรฐานการบริหารการจัดการอย่างยั่งยืน (Thailand Sustainable Event Management Standard – TSEMS) ซึ่ง สสปน.ได้พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริม สร้าง Tool ด้านการจัดงานอย่างยั่งยืน (Sustainability) เข้ามาเพิ่มศักยภาพและสร้างความรู้ความเข้าใจทุกครั้งที่มีการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการหรือผู้ใช้บริการสถานที่การจัดงานห้องประชุมหรือโรงแรมต่างๆก็ได้ประโยชน์จากมาตรฐานดังกล่าว และเป็นเรื่องที่ดีอีกหนึ่งเรื่องที่ประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร นครหลวงของเราได้คว้าตำแหน่งในระดับนานาชาติ 2 ปีซ้อน จากการได้รับการจัดลำดับเป็นจุดหมายปลายทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นที่ 2 ของทวีปเอเชียและลำดับที่ 19 ของโลกจากการจัดลำดับจากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกในการจัดอันดับ Global Destination Sustainability Index หรือ GDS-Index 2019 ผ่านการให้คะแนนตามตัวชี้วัดทั้งสิ้น 4 ด้าน ได้แก่ ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental performance) 14 ข้อ, ตัวชี้วัดด้านสังคม (Social performance) 4 ข้อ, ตัวชี้วัดด้านความสามารถของการให้บริการ (Supplier performance) 8 ข้อ และตัวชี้วัดด้านความสามารถขององค์กรสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมของแต่ละประเทศ (CVB performance) 12 ข้อ The Global Destination Sustainability Index (GDS-Index) เป็นโครงการจัดอันดับเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางด้านการจัดงานที่มีความสามารถโดดเด่นเรื่อง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวีย ที่เป็นสมาชิกและได้รับการสนับสนุนจากสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ หรือ International Congress and Convention Association (ICCA) ซึ่งมีความเข้มแข็งด้านการเป็นจุดหมายปลายทางด้านการจัดงานอย่างยั่งยืนเป็นอย่างมาก ปัจจุบันบริหารงานโดยพันธมิตรหลัก 4 องค์กร คือ International Congress and Convention Association (ICCA), MCI Group, IMEX และ European Cities Marketing (ECM) ซึ่งล้วนเป็นองค์กรที่เป็นที่รู้จักในแวดวงอุตสาหกรรมการจัดประชุม สัมมนา และงานแสดงสินค้าทั่วโลก

ซึ่งทั้งหมดของเรื่องมาตรฐานจะทำให้เกิดการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศในการเลือกสถานที่การจัดงาน โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบในเรื่องมาตรฐานการจัดงานไมซ์ทุกๆ ด้าน

นางอรชร สสปน. กล่าวเพิ่มเติมว่า “เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่มาตรฐานของประเทศไทย จากการพัฒนาจากมาตรฐานระดับชาติ (National Standard) ยกระดับสู่มาตรฐานระดับนานาชาติ (Regional Standard) ภายใต้ชื่อว่า AMVS – ASEAN MICE Venue Standard  ตามมติที่ประชุมการท่องเที่ยวอาเซียนเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2557 โดย ทีเส็บ เป็นเจ้าภาพร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดประชุมขึ้นเพื่อหารือถึงการจัดทำมาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียนโดยใช้มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทยเป็นพื้นฐานในการอ้างอิงทั้งหมด  ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ มีมติให้ประเทศไทย โดย ทีเส็บ เป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินการจัดประชุม Special Meeting  เพื่อสร้างความเข้าใจด้านมาตรฐานของอุตสาหกรรม จนกระทั่ง เมื่อระหว่างวันที่ 18-19 มกราคม 2559  ทีเส็บได้เข้าร่วมประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียนครั้งที่ 43 ที่จัดขึ้นที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และผลจากการประชุมสรุปว่า “อาเซียนเห็นชอบให้ MICE Venue Standard ที่มาจากมาตรฐานของไทยถูกบรรจุไว้ใน ASEAN Tourism Strategic Plan แผน 10 ปี ระหว่างปี 2559-2568 โดยประเทศไทยได้เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องมาตรฐานไมซ์อาเซียน ดังนั้นมาตรฐานสถานที่การจัดงานประเทศไทย (TMVS) จึงสร้างชื่อเสียงและความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย เป็นเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีมาตรฐานสถานที่การจัดงาน ที่ครอบคลุม 3 ประเภท คือ ห้องประชุม (Meeting Room) สถานที่จัดงานแสดงสินค้า (Exhibition Venue) และสถานที่การจัดงานพิเศษ (Special Event Venue) มีจำนวนสถานที่จัดงานที่ได้มาตรฐานมากที่สุดในอาเซียน ได้รับการยอมรับเป็นต้นแบบมาตรฐานสถานที่จัดงาน และยกระดับสู่อาเซียนภายใต้ชื่อ ASEAN MICE Venue Standard (AMVS) อีกทั้งยังยืนหยัดความเป็นผู้นำศูนย์กลางธุรกิจไมซ์ในอาเซียนด้วยมาตรฐานสากล และที่สำคัญที่สุด คือ ทีเส็บ เป็นหน่วยงาน CVB แห่งแรกของโลกที่สร้างมาตรฐานสถานที่การจัดงาน เพื่อรองรับและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมยกระดับการบริการของผู้ประกอบการไมซ์อย่างยั่งยืนด้วยมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ หากมาตรฐาน TMVS ได้รับการสนับสนุน และผลักดันให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงกว้างก็จะยิ่งเป็นการช่วยพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการด้านสถานที่จัดงานไทยที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว มีศักยภาพในการร่วมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดมุ่งหมายการจัดงานไมซ์ในเอเซีย และเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการจัดงานอย่างยั่งยืนในเอเชียต่อไป”

 

ดังนั้นการที่ได้มาซึ่งตราสัญลักษณ์ TMVS ไม่ใช่เรื่องยาก สสปน. มีความพร้อมในการให้องค์ความรู้ มีผู้เชี่ยวชาญคอยตอบคำถามให้คำแนะนำ พร้อมแนวทางขึ้นตอนง่ายๆ ก่อนการตรวจประเมิน เพียง 9 ขั้นตอน

กิจกรรมโครงการ Thailand MICE Standard Partnership ในครั้งนี้ได้นำเสนอหัวข้อภายใต้ MICE Mix of Technology & Environment เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายผู้ให้และผู้ใช้บริการธุรกิจไมซ์ สร้างความสัมพันธ์ธุรกิจยั่งยืนโดยตัวแทนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งในระหว่างงาน ประกอบด้วย กิจกรรมเจรจาธุรกิจสำหรับผู้ที่สนใจเลือกสถานที่จัดประชุม พบสถานจัดงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานฯ (TMVS) พร้อมแคมเปญส่วนลดแบบจัดเต็ม! สำหรับการจัดประชุมในปี 2563 ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ประกอบการ และผู้สนใจ ทุกท่าน ที่งานนี้งานเดียวเท่านั้น โดยมีบูธต่างๆ เข้าร่วมงานได้แก่ โรงแรม โนโวเทล สยาม,The Berkeley Hotel Pratunam,โรงแรม ไมดา เดอ ซี หัวหิน,โรงแรม จอมเทียน ปาล์ม บีช,โรงแรม เซ็นจูรี ปาร์ค,โรงแรม นิกโก้ กรุงเทพ, โรงแรม Swissotel,โรงแรม มิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ

 ภายในงานมีการบรรยายพิเศษ ภายใต้หัวข้อ MICE Mix of Technology &  Environment โดยมีหัวข้อดังนี้  การจัดงานที่ดีช่วยส่งเสริมธุรกิจในด้านใดบ้าง โดย คุณศุภลักษ์ สุวัตถิ กรรมการบริหารสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน (EMA)  และคุณธนาวัฒน์ มาลาบุปฝา Priceza CEO & Co-Founder นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย  การเลือกสถานที่จัดงานที่ได้มาตรฐานจะเพิ่มมูลค่าในการจัดงานอย่างไร และทำไมต้องได้มาตรฐาน TMVS โดย คุณอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สำนักงานส่งเสริม

คุณศุภลักษ์  สุวัตถิ กรรมการบริหารสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน (EMA)   กล่าวว่า การจัดงานนั้นอาจมีจุดประสงค์หลายข้อ อาทิเช่น การสร้างการรับรู้ (Awareness) การสร้างความเชื่อมโยงเพื่อขยายกลุ่มลูกค้า (Acquisition) การกระตุ้นยอดขาย (Activation)  การรักษาฐานลูกค้า (Retention) และการส่งเสริมการบอกต่อ (Referral) ซึ่งงานที่ดีคืองานที่ทำด้วยใจรักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราต้องเข้าใจทั้งผู้จัดงานผู้ที่มางาน ผู้มาออกบูธ เจ้าของสถานที่จัดงานเข้าใจทุกคน เพื่อให้งานออกมาโอเคสำหรับทุกๆฝ่าย ที่สำคัญจริงๆคือต้องใส่ใจงานในทุกรายละเอียดให้งานออกมาดีที่สุด 

อีกทั้งภายในงานยังได้รับเกียรติจาก คุณ ชยาภรณ์  บุนนาค TV Production  Manager  BEC-Tero Entertainment Public Company Limited และ ผู้จัดการกองประกวด Miss Thailand World 2019  คุณจรีลักษณ์ จันทร์สุวรรณ Managing director Stardom Asia Co.,Ltd. และผู้จัดการร่วมกองประกวด Miss Thailand World 2019  ในประเด็นฐานะผู้จัดงานว่าห้องประชุมหรือสถานที่ที่ได้รับมาตรฐาน ส่งผลให้การจัดงานดีขึ้นได้อย่างไร  รวมถึงคุณนิโคลีน พิชาภา ลิมศนุกาญจน์ Miss Thailand World 2018First runner up Miss World 2018 Queen of Asia 2018 ในฐานะที่เดินสายประกวดออกงานอีเว้นท์ระดับโลก เจอสถานที่จัดงานหลากหลาย คิดเห็นอย่างไรกับห้องประชุมหรือสถานที่จัดงานที่ได้รับมาตรฐาน TMVS

นอกจากนี้ภายในงานทางสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. มีการทำความร่วมมือขอความสนับสนุนร่วมประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์มาตรฐานสถานที่จัดงานไมซ์ประเทศไทยหรือThailand MICE Venue  Standard (TMVS)  กับหน่วยงานภาครัฐ 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ,กระทรวงการต่างประเทศ,สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ,สภาอุตสาหกรรม, สภาหอการค้า และสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย

สำหรับผู้ใช้บริการที่มองหาสถานที่การจัดงานที่ได้มาตรฐานฯ สสปน. ยังมี eMarket Place – THAI MICE CONNCENT ที่สามารถเลือกใช้สถานที่จัดงานได้ง่ายๆ เช่นกัน เพียงคลิกไปที่ www.thaimiceconnect.com  หาเมนูที่เป็นสถานที่การจัดงาน ก็จะสามารถเชื่อมโยงรายชื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเลือกและตัดสินใจสถานที่จัดงานที่ได้มาตรฐานอย่างสะดวกและรวดเร็ว