เผยข้อมูล “ผู้ต้องขังหญิง” ต้องโทษจำคุก ในความผิดไม่รุนแรง เสนอ “มาตรการลงโทษแทนการจำคุก” แก้คนล้นเรือนจำ ในยุคโควิด-19

ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายชี้กระบวนการยุติธรรมเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เสนอใช้ “มาตรการที่มิใช่การคุมขังที่ตอบสนองต่อเพศภาวะ” แก้ปัญหานักโทษล้นเรือนจำ โดยเฉพาะผู้ต้องขังหญิงที่มักกระทำผิดคดียาเสพติด และมักถูกจำคุกในคดีความผิดที่ไม่รุนแรง ซึ่งทั่วโลกมีจำนวนผู้ต้องขังหญิงสูงขึ้นกว่า 50% ในรอบ 20 ปี เทียบกับ 20% ในกลุ่มผู้ต้องขังชาย ย้ำผู้เกี่ยวข้องเปลี่ยนบทลงโทษผ่านแนวคิดใหม่ที่ไม่เน้นเฉพาะการขังคุก และคำนึงถึงความแตกต่างด้านร่างกาย จิตใจ ระหว่างหญิงและชาย หวังผลักดันการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อสังคมที่ยั่งยืนแห่งอนาคต

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ กล่าวว่า “กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และระบบเรือนจำได้เผชิญกับความท้าทายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้เห็นปัญหาที่ฝังรากลึกในกระบวนการยุติธรรมที่มีมาหลายทศวรรษ และยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื้อรังด้านความหนาแน่นของผู้ต้องขังในเรือนจำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ และผู้หญิง”

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการรายงานการเสียชีวิตของผู้ต้องขังหญิงชาวอเมริกันจากเชื้อโควิด-19 หลังการคลอดบุตรไปเพียงไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นกรณีแรกของโลกที่มีรายงานการเสียชีวิตของผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งควรรภ์จาก
เชื้อโควิด-19 จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้องค์กรภาคีเพื่อการยุติธรรมทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา “นักโทษล้นเรือนจำ” ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวตลอดจนการเปลี่ยนพื้นฐานแนวคิดของการตัดสินโทษของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

ผลกระทบจากโควิด-19 ได้แสดงให้เห็นถึงอุปสรรคของแนวคิด และกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในปัจจุบันที่ไม่สามารถไขปัญหาของสังคมอย่างยั่งยืน และนี่ถือเป็นวาระเร่งด่วนในการบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นมานานจากภาวะนักโทษล้นเรือนจำ ขณะเดียวกัน ผลกระทบจากโควิด-19 ยังได้กระตุ้นเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานด้านยุติธรรมคำนึงถึงความท้าทาย และจุดประสงค์ของโทษจำคุกให้ถ่องแท้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนมาตรการทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและตอบโจทย์การส่งตัวผู้กระทำผิดเหล่านั้นคืนสู่สังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “มาตรการที่มิใช่การคุมขังที่ตอบสนองต่อเพศภาวะ” (Gender-responsive Non-Custodial Measures) คือ การใช้มาตรการอื่น ๆ นอกจากการคุมขัง โดยพิจารณาจากภูมิหลังที่ส่วนใหญ่ผู้ต้องขังหญิงมักจะถูกกระทำความรุนแรง หรือ ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงมาก่อน และพิจารณาจากความต้องการเฉพาะที่สอดคล้องกับเพศภาวะของผู้ต้องขังหญิง ที่มีสภาพร่างกายจิตใจที่แตกต่างจากผู้ต้องขังชาย เช่น การที่ผู้ต้องขังหญิงมีประจำเดือนทุกเดือน หรือตั้งครรภ์ระหว่างถูกคุมขัง ภาระการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งเหตุนี้จึงทำให้ผู้ต้องขังหญิงมีความต้องการเฉพาะที่ต่างจากผู้ต้องขังชาย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ กล่าวว่า “กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และระบบเรือนจำได้เผชิญกับความท้าทายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้เห็นปัญหาที่ฝังรากลึกในกระบวนการยุติธรรมที่มีมาหลายทศวรรษ และยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื้อรังด้านความหนาแน่นของผู้ต้องขังในเรือนจำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ และผู้หญิง”

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการรายงานการเสียชีวิตของผู้ต้องขังหญิงชาวอเมริกันจากเชื้อโควิด-19 หลังการคลอดบุตรไปเพียงไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นกรณีแรกของโลกที่มีรายงานการเสียชีวิตของผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งควรรภ์จาก
เชื้อโควิด-19 จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้องค์กรภาคีเพื่อการยุติธรรมทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา “นักโทษล้นเรือนจำ” ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวตลอดจนการเปลี่ยนพื้นฐานแนวคิดของการตัดสินโทษของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

ผลกระทบจากโควิด-19 ได้แสดงให้เห็นถึงอุปสรรคของแนวคิด และกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในปัจจุบันที่ไม่สามารถไขปัญหาของสังคมอย่างยั่งยืน และนี่ถือเป็นวาระเร่งด่วนในการบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นมานานจากภาวะนักโทษล้นเรือนจำ ขณะเดียวกัน ผลกระทบจากโควิด-19 ยังได้กระตุ้นเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานด้านยุติธรรมคำนึงถึงความท้าทาย และจุดประสงค์ของโทษจำคุกให้ถ่องแท้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนมาตรการทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและตอบโจทย์การส่งตัวผู้กระทำผิดเหล่านั้นคืนสู่สังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “มาตรการที่มิใช่การคุมขังที่ตอบสนองต่อเพศภาวะ” (Genderresponsive NonCustodial Measures) คือ การใช้มาตรการอื่น ๆ นอกจากการคุมขัง โดยพิจารณาจากภูมิหลังที่ส่วนใหญ่ผู้ต้องขังหญิงมักจะถูกกระทำความรุนแรง หรือ ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงมาก่อน และพิจารณาจากความต้องการเฉพาะที่สอดคล้องกับเพศภาวะของผู้ต้องขังหญิง ที่มีสภาพร่างกายจิตใจที่แตกต่างจากผู้ต้องขังชาย เช่น การที่ผู้ต้องขังหญิงมีประจำเดือนทุกเดือน หรือตั้งครรภ์ระหว่างถูกคุมขัง ภาระการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งเหตุนี้จึงทำให้ผู้ต้องขังหญิงมีความต้องการเฉพาะที่ต่างจากผู้ต้องขังชาย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ กล่าวเสริมว่า งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่า โทษจำคุกควรเป็นทางเลือกสุดท้ายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กระทำผิดหญิงส่วนใหญ่ที่กระทำความผิดโดยไม่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงหรือกระทำความผิดลหุโทษ ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกยังไม่ได้คำนึงถึงความต่างทางเพศสภาพ เช่น ต้นสายปลายเหตุของกระบวนการทำให้ผู้หญิงกลายเป็นเหยื่อ (victimization) ความรับผิดชอบในการดูแลครอบครัวของเพศหญิง และความต้องการเฉพาะทางด้านสุขภาพใจและสุขภาพกายของเพศหญิงมากนัก

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ถูกคุมขังก่อนการพิจารณาคดีมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 30% โดยในปี พ.ศ.2560 พบว่า ทั่วโลกมีจำนวนผู้ถูกคุมขังก่อนการพิจารณาคดีเกือบ 3 ล้านคน ซึ่งในจำนวนดังกล่าว สัดส่วนของผู้หญิงที่ถูกคุมขังก่อนการพิจารณาคดีในบางประเทศเท่ากันหรือมากกว่าผู้หญิงที่ถูกตัดสินกระทำความผิดแล้ว ขณะที่บางประเทศ พบว่า สัดส่วนผู้คุมขังก่อนการพิจารณาคดีของผู้หญิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีมากกว่าผู้ชายเสียอีก